โครงการจัดประชุมกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ELIB ,MATRIX และระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (IR)
หัวข้อ Applying AI to Enhance Library Services
มีกำหนดจัดขึ้นวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
ณ ห้องประชุมอาคารรักตะกนิษฐ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
จัดโดย
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บริษัท iGroup (Asia Pacific) Limited
และ บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
1. หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บริษัท iGroup (Asia Pacific) Limited และ บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ได้ร่วมกันจัดประชุมกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ELIB ,MATRIX และระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (IR) หัวข้อ Applying AI to Enhance Library Services มีกำหนดจัดขึ้นวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมอาคารรักตะกนิษฐ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยการจัดประชุมครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่เกี่ยวกับอนาคตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในห้องสมุดสถาบันการศึกษา การนำ AI มายกระดับการให้บริการห้องสมุดให้ทันสมัยตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ยุคดิจิทัล การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาปรับปรุงบริการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในการสร้างฐานข้อมูลดิจิทัลเพื่อการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงสร้างความตระหนักรู้อันจะนำไปสู่การพัฒนาบทบาทใหม่ที่จะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อบริหารจัดการบริการห้องสมุดและการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งในระดับชาติและสากล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ครู คณาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดและผู้เกี่ยวข้องได้มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการ และวิชาชีพระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายในประเทศให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจถึงบทบาทห้องสมุดและสภาพแวดล้อมของสถาบันการศึกษาจากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญชำนาญการและมีประสบการณ์ตรงไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาห้องสมุดไปสู่ห้องสมุดอย่างยั่งยืน (Sustainable Library) มีคุณภาพ ครอบคลุม เท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบในการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในอนาคต
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ยกระดับการให้บริการห้องสมุดที่ทันสมัยตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการยุคดิจิทัล การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนบทบาทห้องสมุดและสภาพแวดล้อมของสถาบันการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์สำหรับห้องสมุดในอนาคต
2.2 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการการจัดการห้องสมุดไปสู่ห้องสมุดอย่างยั่งยืน ปรับตัวและการเรียนรู้ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีผลต่อห้องสมุดและสภาพแวดล้อมของสถาบันการศึกษา
2.3 เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ แลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะของวิชาชีพบรรณารักษ์ เพื่อนำไปสู่การบริการห้องสมุดและสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผลผลิตโครงการ (Output)
3.1 เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาปรับปรุงบริการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)
3.2 สร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษา โดยมีผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ครู คณาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดและผู้เกี่ยวข้องได้มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการ และวิชาชีพระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งภายในประเทศ
3.3 ผู้เข้าร่วมสัมมนามีโอกาสถ่ายทอด แลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะของวิชาชีพบรรณารักษ์ เพื่อนำไปสู่การบริการห้องสมุดและสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผลลัพธ์โครงการ (Outcome)
4.1 เพิ่มสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติให้กับผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ครู อาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดและผู้เกี่ยวข้องได้มีการพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการและวิชาชีพระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายในประเทศ
4.2 สร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเชื่อมโยงกันของเครือข่ายจะช่วยให้บุคลากรทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ครู คณาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักการศึกษา หรือผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถเปลี่ยนแปลงบทบาทห้องสมุดและสภาพแวดล้อมของสถาบันการศึกษาของตนเอง เพื่อการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
5. กิจกรรมหลัก
กิจกรรม
การประชุมกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ELIB ,MATRIX และระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (IR) หัวข้อ Applying AI to Enhance Library Services ดังนี้
– Proactive Librarianship: Amplifying Research Visibility and Impact
– One World Library Management in the AI Era
– Transforming Institutional Repositories with Generative AI: Boosting Engagement and Usage
– One World Library Tour
วิธีดำเนินงาน
โดยวิทยากรผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญชำนาญการและมีประสบการณ์ตรงมาบรรยายและการเสวนาวิชาการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ่ายทอดประสบการณ์ตรง
6. กลุ่มเป้าหมาย
เครือข่ายผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ครู อาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดและผู้เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยในกำกับ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศ
1. ผู้เข้าร่วมประชุมจากมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชนในประเทศ จาก 72 สถาบัน
2. วิทยากร จำนวน 3 คน
3. คณะทำงานจัดงาน จำนวน 100 คน
7. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
7.1 เชิงปริมาณ
– ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ครู อาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดและผู้เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมประชุมกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ELIB ,MATRIX และระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (IR) จำนวนไม่น้อยกว่า 200 คน
– ร้อยละความพึงพอใจต่อการจัดโครงการ Applying AI to Enhance Library Services ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
7.2 เชิงคุณภาพ
– ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ครู อาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดและผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุน สามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาต่อยอดได้ตามสภาพแวดล้อมของสถาบันการศึกษาของตนเอง เพื่อการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
– ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ครู อาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดและผู้เกี่ยวข้องมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการการจัดการห้องสมุดไปสู่ห้องสมุดอย่างยั่งยืน ปรับตัวและการเรียนรู้ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีผลต่อห้องสมุดและสภาพแวดล้อมของสถาบันการศึกษาของตนเอง
– รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ Applying AI to Enhance Library Services จำนวน 1 เล่ม
8. ระยะเวลาและสถานที่จัดงาน
มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมรักตะกนิษฐ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เลขที่ 295 ถนนนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
9. งบประมาณ
9.1. อาหาร เครื่องดื่ม และเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนา
โดย บริษัท iGroup (Asia Pacific) Limited และบริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
9.2. การติดต่อประสานงาน รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา
โดย บริษัท iGroup (Asia Pacific) Limited และบริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
9.3. การประชาสัมพันธ์ / การสรุปเนื้อหาการประชุม
โดย บริษัท iGroup (Asia Pacific) Limited และบริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
9.4. การเชิญประธานเปิดงานและแขกผู้มีเกียรติ / จัดสถานที่ / การประชาสัมพันธ์
โดย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
10. ผู้รับผิดชอบ
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บริษัท iGroup (Asia Pacific) Limited และบริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด